เวทีเสวนา “ข้อซักถามเชิงปรัชญาต่อการทำวิจัย: จะทำการวิจัย (และอุดมศึกษา) ให้แตกต่างออกไปจากเดิมอย่างไร?”

วันที่ 21 มิถุนายน 2567 สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเวทีเสวนาในหัวข้อ “คำถามเชิงปรัชญาการวิจัย: จะทำวิจัยอย่างไรให้แตกต่าง (ในระดับสถาบันอุดมศึกษา) (Philosophically-informed inquiry on research: How might one do research (and higher education) differently” วิทยากรโดย อ. ขวัญระวี วังอุดม อดีตอาจารย์และนักวิจัยอิสระ ร่วมนำเสนอการวิจัยแบบภววิทยา (Ontology) หรือ ปรัชญาที่ศึกษาธรรมชาติของความจริงและการดำรงอยู่ ณ ห้อง 118 สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

คุณขวัญระวีได้เชิญชวนผู้ฟังให้กลับไปพิจารณาวิธีที่นักวิจัยถูกสอนให้ทำวิจัยและเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัย นั่นคือการทำงานทางวิทยาศาสตร์เพื่อเติมเต็มช่องว่างของความรู้โดยที่นักวิจัยพยายามทำความเข้าใจหรือตรวจสอบปรากฏการณ์เฉพาะผ่านวิธีการที่หลากหลายซึ่งจะผลิตผลการค้นพบที่ตรวจสอบหรือเชื่อถือได้ อันรวมถึงกระบวนการดังต่อไปนี้: ระบุคำถามวิจัยที่คำตอบจะเติมเต็มช่องว่างในวรรณกรรมการวิจัย เลือกวิธีวิทยาที่สอดคล้องกับคำถาม ออกแบบการศึกษาโดยเลือกจากการออกแบบที่มีอยู่แล้ว เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลจากแพทเทิร์นที่ “ปรากฏ” จากข้อมูล แล้วเขียนการศึกษาและรายงานผลการค้นพบ อย่างไรก็ตามปัญหาอยู่ที่ธรรมชาติของกระบวนการวิจัยลักษณะนี้ที่ตั้งใจกำหนดรูปแบบและวิธีการอย่างเป็นระบบและเป็นเส้นตรงเอาไว้ล่วงหน้า

เพื่ออธิบายเพิ่มเติม คุณขวัญระวีไม่เพียงแต่นำผู้ฟังไปสำรวจรากฐานของการผลิตความรู้และธรรมชาติของสรรพสิ่ง (ontology of being) เท่านั้น แต่เธอยังอ้างอิงถึงการเดินทางปริญญาเอกของเธอที่ทำงานเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตของชาวจีนเชื้อสายไทย เช่นเดียวกับนักวิจัยหลายคน เธอเริ่มต้นกระบวนการวิจัยตามแบบแผนที่ได้กล่าวมาข้างต้น และดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เข้าร่วมการวิจัยของเธอ แต่เมื่อเธอกลับจาก “ภาคสนาม” เพื่อนั่งกับ “ข้อมูล” ของเธอ สิ่งที่แปลกประหลาดก็เกิดขึ้น จู่ๆวันหนึ่งเธอเกิดอาการหายใจไม่ออกและหวาดกลัวขึ้นมาอย่างเฉียบพลันต่อเหตุการณ์การสูญเสียที่ไม่คาดคิดที่เข้ามาในชีวิตของเธอ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปได้นำไปสู่การปรากฏตัวของสิ่งที่อาจถูกเรียกว่า เด็กในตัวเอง (inner child) ซึ่งมาเกี่ยวพันกับของผู้เข้าร่วมการวิจัยของเธอในขณะที่เธอฟัง “ข้อมูลการสัมภาษณ์” (interview data) ไม่เพียงแต่เธอจะเข้าใจ self ในแง่มุมใหม่ แต่เธอยังพบว่า สิ่งที่สำคัญมักอยู่ที่ชายขอบ – นอกเหนือภาษาหรือคำพูดและสิ่งที่มองเห็น วิธีคิดและการทำวิจัยที่นักวิชาการสายปรัชญาการศึกษา เอลิซาเบธ แซงต์ ปิแอร์ (Elizabet St. Pierre) เรียกว่า แบบมนุษยนิยมดั้งเดิม (the conventional humanist methodology (/paradigm) กลายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเข้าใจได้สำหรับเธอ

สิ่งนี้ได้เปิดวิธีการใหม่ในการทำการวิจัย เช่นเดียวกับการศึกษาระดับสูงอีกครั้ง โดย เอลิซาเบธ แซงต์ ปิแอร์ ได้บัญญัติคำเรียกไว้ว่า “Post-qualitative inquiry” เป็นแนวทางที่โอบรับความแปลกประหลาด ความยุ่งเหยิง ความไม่แน่นอน และการต่อต้านความเข้าใจหรือความพยายามที่จะรู้ ตรงข้ามกับการแสวงหาความชัดเจน ความน่าเชื่อถือ และความสามารถในการคาดเดาล่วงหน้า (อย่างหลังอาศัยความคิดเชิงเหตุผล หา cause – effect และวางอยู่บนฐานคิดแบบสองขั้ว เช่น subject vs object หรือ mind vs body) คุณขวัญระวีอ้างอิงถึงผลงานของนักปรัชญาในกลุ่มปรัชญา ‘โพสต์’ เช่น กิลล์ เดอเลอซ (Gilles Deleuze) ดอนนา ฮาราเวย์ (Donna Haraway) และ คาเรน บาราด (Karen Barad) ในตอนท้ายของการบรรยายของเธอ คุณขวัญระวีเน้นย้ำว่า เพื่อให้การศึกษาเป็นไปในเชิงของการสร้างความเปลี่ยนแปลง (transformative) จำเป็นต้องโอบรับความแปลกประหลาดและความเปราะบาง ยอมให้ตัวเองหลงทาง เธอยังอ้างถึงงานของดอนนา ฮาราเวย์ (Donna Haraway) เรื่อง Staying with the Troubles ว่า สำหรับนักวิจัยและนักการศึกษา (รวมถึงทุกคน) ให้ใช้ชีวิตอยู่ในปัจจุบันที่เข้มข้นและกว้างใหญ่ (ตรงข้ามกับอนาคตที่เป็นนามธรรม) และอยู่ด้วยความสงสัยและความอัศจรรย์ใจ และสนใจในสิ่งต่าง ๆ อย่างไม่หยุดหย่อน (ทั้งมนุษย์และสิ่งไม่มีชีวิต) ท่ามกลางความไม่แน่นอนอันเป็นแก่นแท้ของการดำรงชีวิต…

Message us