Human Rights and Peace Studies

Academic Service

CONTACT US

Human Rights and Peace Studies

[Available only Thai language.]

สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สนับสนุนให้การบริการวิชาการและจัดอบรมเสริมสร้างศักยภาพเพื่อพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ในด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพให้กับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เช่น นักวิชาการ นักวิจัย เจ้าหน้าที่รัฐ ภาคประชาสังคม และนักศึกษาทั้งภายในประเทศและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีโครงการที่สำคัญ ดังนี้

1) การอบรมเสริมสร้างศักยภาพสำหรับกลุ่มเป้าหมายภายในประเทศไทย
1.1 การอบรมเชิงปฏิบัติการวิจัยด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (มีนาคม – มิถุนายน 2564) – กิจกรรมดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะด้านการวิจัยบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนให้กับบุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจำนวน 23 คน และเพื่อให้บุคลากรของ สำนักงาน กสม. สามารถนำองค์ความรู้และทักษะการวิจัยด้านสิทธิมนุษยชนดังกล่าวนำไปปรับใช้กับการดำเนินงานประจำของตนได้ โดยมีคณาจารย์จากสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรและพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาตลอดโครงการ ซึ่งในกระบวนการอบรมดังกล่าว บุคลากรของสำนักงาน กสม. ได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาข้อเสนอแนะในประเด็นสิทธิมนุษยชนด้านต่าง ๆ เช่น สิทธิของพนักงานจ้างเหมาบริการภาคเอกชน สิทธิในการทำกิน การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพและผู้พลัดถิ่น ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐและผู้บังคับใช้กฎหมายตามแนวทางสิทธิมนุษยชน และการศึกษายุทธศาสตร์ชาติด้วยมุมมองด้านสิทธิมนุษยชน

2) การอบรมเสริมสร้างศักยภาพสำหรับกลุ่มเป้าหมายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2.1 โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งการศึกษาและวิจัยด้านสิทธิมนุษยชนในเมียนมา (Strengthening Human Rights Education and Research in Myanmar) เป็นโครงการที่สถาบันสิทธิมนุษยชนร่วมมือกับ The Human Rights Education and Research Programme (HRERP) ของกระทรวงต่างประเทศเดนมาร์ก ระหว่างปี พ.ศ. 2564 – 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนให้กับอาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัย นักวิชาการรุ่นใหม่และนักศึกษาจากเมียนมา เพื่อช่วยหนุนเสริมให้กับกลุ่มดังกล่าวสามารถทำงานวิจัยและศึกษาภายใต้บริบทความท้าทายและปัญหาทางการเมืองภายในประเทศหลังจากการรัฐประหารในเดือน ก.พ. 2564 การอบรมในโครงการนี้แบ่งเป็นสองแนวทาง ได้แก่ (1) การอบรมออนไลน์หลักสูตรประกาศนียบัตร (Certificate Course) ในประเด็นสิทธิมนุษยชนให้กับเยาวชนและนักศึกษาในเมียนมา (2) การอบรมด้านการวิจัยสิทธิมนุษยชนและการเขียนงานวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนให้กับอาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัย และนักวิชาการรุ่นใหม่

2.2 การอบรมเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ให้กับนักวิชาการและนักศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ยังได้ร่วมมือกับ โครงการ Strengthening Human Rights and Peace Education in Southeast Asia (SHAPE-SEA) และ ASEAN University Network – Human Rights Education (AUN-HRE) โดยมีคณาจารย์ในสถาบันฯ เป็นวิทยากรในการอบรมเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพให้กับนักศึกษา และนักวิชาการในภูมิภาค เช่น การอบรมการวิจัยด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพสำหรับนักศึกษาปริญญาเอกในภูมิภาค (Online Training on Human Rights and Peace Research for PhD Students) การอบรมการสอนสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (Trainings on Teaching Human Rights and Peace) เป็นต้น นอกจากนี้ คณาจารย์ในสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษายังมีส่วนร่วมในการพัฒนาคู่มือและแบบเรียนด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพสำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องในการอบรมดังกล่าวอีกด้วย

Message us