
SDGs เป้าหมายที่ 16
SDGs เป้าหมายที่ 16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม ผ่านงานด้านพันธกิจสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และงานเครือข่ายระหว่างศาสนาและเครือข่ายวิชาการด้านสันติภาพในประเทศและนานาชาติ
โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการ
โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างสันติภาพในพื้นที่จังหวัดแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง โดยโครงการจัดตั้งสถาบันฯ มีสำนักงานในจังหวัดปัตตานี ชื่อ “ศูนย์สันติวิธีชายแดนใต้” รวมทั้งได้พัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ นักการเมือง ภาคประชาสังคม ผู้นำศาสนา ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบและกับกลุ่มต่างๆ โดยใช้เครื่องมือหนึ่งที่โดดเด่นของโครงการจัดตั้งสถาบันฯ นั่นคือ การสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้มีการปรึกษาหารือระหว่างตัวแสดงต่างๆ ในพื้นที่ผ่านกระบวนการสานเสวนา บนฐานคิดเรื่องการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง (Conflict transformation) โดยการหนุนเสริมกระบวนการทางการเมือง ด้วยการสร้างช่องทางการสื่อสารระหว่างรัฐกับสังคม เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ ได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความอัดอัดขับข้องทางการเมืองและสังคม ในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา มีผลงานสำคัญสองเรื่องที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ 1) การส่งเสริมการรวมตัวของชาวพุทธ และ 2) การสร้างความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมและพรรคการเมืองในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้
- การส่งเสริมการรวมตัวของชาวพุทธ
โครงการนี้ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2558 ในช่วงที่ชาวพุทธเริ่มมีความไม่พอใจกับการแก้ปัญหาของภาครัฐ และเริ่มมีการประท้วงเป็นระยะๆ ในพื้นที่ รวมทั้งชาวพุทธกลุ่มต่างๆ ยังมีจุดยืนและความต้องการหลากหลายไม่สามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่มได้ โครงการจัดตั้งสถาบันฯ จึงได้เชิญชวนชาวพุทธกลุ่มต่างๆ ทั้งในและนอกพื้นที่ชายแดนใต้ รวมตัวกันเป็น “กลุ่มถักทอสันติภาพ: กทส.” หรือ “Weaving Peace Together: WPT” จัดให้มีกิจกรรมหลากหลาย ได้แก่สานเสวนาภายในกลุ่มพุทธ การอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ การร่วมกันสำรวจและจัดทำข้อเสนอของชาวพุทธ การจัดเวทีสานเสวนาให้ชาวพุทธได้มีโอกาสปรึกษาหารือเพื่อลดความอัดอัดคับข้องของตนต่อมุสลิมกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ รวมทั้งภาครัฐและผู้แทนคณะพูดคุยสันติสุข-สันติภาพของรัฐบาลและฝ่ายขบวนการต่อต้านรัฐอย่างสืบเนื่อง ปัจจุบันกลุ่มพุทธได้รับการยอมรับในเครือข่ายภาคประชาสังคม ภาควิชาการและภาครัฐในพื้นที่ รวมทั้ง สมาชิกของกลุ่มถักทอสันติภาพจำนวน 11 คน ได้เข้าไปเป็นคณะทำงานประสานงานระดับพื้นที่ของคณะพูดคุยสันติสุข-สันติภาพที่ดำเนินการโดย กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญให้ชาวพุทธได้สื่อสารและผลักดันข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
ในปี 2562 ข้อเสนอของกลุ่มถักทอสันติภาพ ต่อสถานการณ์ชาวพุทธในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ Position Paper of Weaving Peace Together (WPT) Regarding the Situations of Buddhists in the Southern Border Provinces ได้รับการจัดทำเป็น 3 ภาษา คือ ไทย อังกฤษ และมลายู เพื่อเสนอต่อผู้แทนคณะพูดคุยฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายขบวนการมารา ปาตานี สืบค้นได้จาก https://css.ethz.ch/en/think-tank/themes/mediation-support-and-peace-promotion/all-publications/details.html?id=/p/o/s/i/position_paper_of_weaving_peace_together
นอกจากนั้นโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาได้นำกลุ่มทักทอสันติภาพ ไปนำเสนอข้อเสนอต่อ หัวหน้าคณะพูดคุยของรัฐบาล พลเอกวัลลภ รักเสนาะ ปรากฏในข่าว https://prachatai.com/journal/2020/09/89491 ซึ่งการบทบาทของโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิฯ ในการเสริมสร้างสันติภาพในพื้นที่ชายแดนใต้ได้รับการยอมรับจากภาคส่วนต่างๆ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกต่อสถานการณ์ภาพรวมในพื้นที่
- การสร้างความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมและพรรคการเมือง
จากการทำงานที่ต่อเนื่องของโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิฯในพื้นที่ชายแดนใต้ ทำเห็นว่าการแก้ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ไม่สามารถที่จะพึ่งเจ้าหน้าที่รัฐหรือฝ่ายความั่นคงเพียงอย่างเดียว จะต้องประสานความร่วมมือจากภาคประชาสังคม นักวิชาการและผู้นำศาสนา ที่จะเป็นพลังต่อรองอีกช่องทางหนึ่งเพื่อสู่การผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายและจะส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนและเกิดสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป ดังนั้นโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิฯ จึงมุ่งสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้มีการปรึกษาหารือระหว่างตัวแสดงต่างๆ ในพื้นที่ผ่านกระบวนการสานเสวนา บนฐานคิดเรื่องการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง (Conflict transformation) โดยการหนุนเสริมกระบวนการทางการเมือง ด้วยการสร้างช่องทางการสื่อสารระหว่างรัฐกับสังคม เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ ได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความอัดอัดขับข้องทางการเมืองและสังคม ซึ่งกระบวนการสานเสวนาที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนับสิบปี ได้สร้างความเชื่อมแน่นของกลุ่มนักการเมืองจาก 5 พรรคการเมือง และองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ อย่างน้อย 31 องค์กร ดังนั้นโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิฯ จึงผลักดันให้ทั้งสองกลุ่มนี้ได้ทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้กับพื้นที่ชายแดนใต้ผ่านการทำ “ข้อตกลงร่วมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ระหว่างนักการเมืองกับภาคประชาสังคม” ที่ไม่ว่ากลุ่มไหนจะมีจุดยืนทางการเมืองเช่นไร หรือมีประเด็นสนใจที่หลากหลายอย่างไร ก็พร้อมจะหันมาทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไปสู่การทำงานร่วมกันระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร/นักการเมืองและภาคประชาสังคมนับเป็นนวัตกรรมส่งเสริมการสร้างสันติภาพที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ภาพข่าวการลงนาม“ข้อตกลงร่วมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ระหว่างนักการเมืองกับภาคประชาสังคม” ปรากฏในสื่อออนไลน์ http://spmcnews.com/?p=19639
นอกจากโครงการด้านการสร้างสันติภาพแล้ว โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิฯ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านสิทธิมนุษยชนศึกษา (AUN-HRE) ยังได้ดำเนินการในส่วนของโครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านความรู้ทางกฎหมายสิทธิมนุษยชนและสิทธิมนุษยชนศึกษาให้กับบุคลากรทางการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจากประเทศในภูมิภาค ASEAN มาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 โดยมีผู้เข้าร่วมการอบรมจนถึงปัจจุบันประมาณ 120 คน ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันการศึกษาในภูมิภาคในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน สันติภาพ และความยุติธรรมต่อไป (บทสรุปผู้บริหารด้านล่างเป็นภาษาอังกฤษค่ะ)
- Capacity building and outreach for human rights and peace:
Since 2017, the Institute of Human Rights and Peace Studies, Mahidol University, as a convener of the Human Rights Education theme of the ASEAN University Network (AUN-HRE), and the SHAPE-SEA Program have been co-organizing annual Regional Lecturer Workshops for university lecturers from ASEAN countries with an aim to strengthen knowledge and capacity for academics and government personnel in international human rights laws. The training workshops cover key human rights treaties including the Universal Declaration of Human Rights (UDHR), International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR), and International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights. Other key human rights laws and issues discussed include women’s rights, gender and sexuality, child rights, migration and trafficking; peace and conflict as well as human rights protection in Southeast Asia. The training workshops also aim to equip participants with pedagogical practices that would enhance teaching skills for lecturers. This year (2021), the workshop focuses on peace education.
Around 125 lecturers and government personnel from the 9 ASEAN countries participated in the workshops so far. The knowledge and skills gained by these academics is significant in contributing to strengthening human rights, peace and the rule of law in the region.
The 3rd Lecturer Workshop on Teaching Human Rights 2019
https://shapesea.com/what-we-do/research/the-3rd-lecturer-workshop-on-teaching-human-rights/
The 4th Lecturer Workshop on Teaching Human Rights 2020 (virtual workshop)