เวทีอภิปรายหัวข้อ การนำข้อเสนอแนะจาก the UN Global Study on Children Deprived of Liberty ไปสู่วาระแห่งชาติ การดำเนินงานของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563  สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ  Global Campus of Human Rights และ Right Livelihood Foundation  จัดเวทีอภิปรายเรื่อง “การนำข้อเสนอแนะจาก the UN Global Study on Children Deprived of Liberty ไปสู่วาระแห่งชาติ: การดำเนินงานของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก” โดยมี ดร.เอกพันธุ์  ปิณฑวณิช ผู้อำนวยการสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และ Dr. Monika Griefahn รองประธานคณะกรรมการ the Right Livelihood Foundation, สมาชิกสภาบริหาร Right Livelihood College และสมาชิกคณะกรรมการ Right Livelihood Award Foundation Switzerland. อดีตสมาชิกรัฐสภาเยอรมัน และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของรัฐ Lower Saxony และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์การกรีนพีซ เยอรมัน  กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมเวทีอภิปราย  และกล่าวเปิดงานโดย Mr. Marcoluigi Corsi รองผู้อำนวยการภูมิภาค องค์การยูนิเซฟ สำนักงานเอเขียตะวันออกและแปซิฟิค

ในโอกาสนี้  Prof. Manfred Nowak เลขาธิการ Global Campus of Human Rights และผู้ชำนาญการอิสระ หัวหน้าการดำเนินงานการศึกษาระดับโลกแห่งสหประชาชาติเรื่องเด็กที่ขาดเสรีภาพ (the UN Global Study on Children Deprived of Liberty) ได้กล่าว คำปราศรัย รายงานการศึกษาระดับโลกแห่งสหประชาชาติเรื่องเด็กที่ขาดเสรีภาพ (the UN Global Study on Children Deprived of Liberty) และได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; อดีตผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ, ผู้ชำนาญการอิสระแห่งสหประชาชาติ และสมาชิกคณะกรรมการแห่งสหประชาชาติตรวจสอบข้อเท็จจริงในสถานการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เป็นผู้กล่าวปิดงาน ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร

การจัดเวทีอภิปรายในครั้งนี้  ผู้จัดมีความมุ่งหวังเพื่อนำเสนอผลการศึกษา และข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาระดับโลกเกี่ยวกับเด็กที่ขาดเสรีภาพ (the Global Study on Children Deprived of Liberty) รวมถึงความเกี่ยวข้องกับภูมิภาคเอเชียตะวันออก และพิจารณาถึงบทบาทของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกัน เพื่อนำข้อเสนอแนะจาก the UN Global Study on Children Deprived of Liberty ไปสู่ภาคปฎิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับแนวปฎิบัติที่ดีและความท้าทายในการดำเนินงานดังกล่าว

Message us